หลัก ของ ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง

ดอก-โรส-แม-ร-ความ-หมาย

เน้นความเป็นเศรษฐกิจแบบองค์รวม กล่าวคือ เป็นระบบการพัฒนาชีวิตของปัจเจกบุคคลควบคู่กันไปกับการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีจริยธรรมคือความเมตตา ความเกื้อกูลสงเคราะห์ ความสามัคคี ความไม่เห็นแก่ตัว ดังหลักของระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวไว้ว่า มนุษย์อยู่ดี ชุมชนอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน 2. เป็นระบบเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาที่มีสัมมาอาชีวะเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งสามารถโยงไปสู่การที่พระพุทธศาสนามีท่าทีปฏิเสธความสุดโต่ง ๒ ด้าน คือ การหมกมุ่นในกามสุขอย่างเดียว และ การทรมานตนเองในรูปแบบต่างๆ 3. เป็นระบบเศรษฐกิจที่มุ่งพัฒนาทั้งคนและทั้งกระบวนการทางเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าคนไทยปฏิบัติตามระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงก็จะส่งผลให้เกิดภาวะ "เศรษฐกิจก็งอกงาม ธรรมก็งอกเงย คนก็มีความสุข" 4. เป็นระบบเศรษฐกิจที่ไม่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน ไม่มุ่งทำลายทรัพยากรธรรมชาติจนกลายเป็นการทำร้ายธรรมชาติ 5. เป็นระบบเศรษฐกิจที่ฝึกให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงศักยภาพในด้านการสามารถพึ่งตนเองได้ของมนุษย์ อ้างอิง ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา. คำพ่อสอน: ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยว กับเศรษฐกิจพอเพียง/มูลนิธิพระดาบส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ, ๒๕๕๑.

รู้จัก หลัก ปรัชญา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง ใน 3 นาที

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้ ๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

  • รู้จัก หลัก ปรัชญา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง ใน 3 นาที
  • หลัก ปรัชญา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง กับ การ ศึกษา
  • รู้จัก "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ใน 3 นาที - YouTube
  • รีวิว น้ํา หอม ผู้หญิง ติด ทน นาน
  • เรียงความปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • ติวสอบท้องถิ่น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - YouTube
  • หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การรู้จักประมาณสถานการณ์ได้นี้จะทำให้สามารถวางแผนงานและปฏิบัติงานได้ถูก ตรงกับปัญหา ทันแก่สถานการณ์และความจำเป็น อันจะทำให้งานที่ทำได้ประโยชน์ที่สมบูรณ์คุ้มค่า. การรู้จักประมาณตนและรู้จักประมาณสถานการณ์ จึงเป็นอุปการะอย่างสำคัญที่จะเกื้อกูลให้บุคคลดำเนินชีวิตและกิจการงานไปได้อย่างราบรื่นและก้าวหน้า... " *พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันเสาร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ "... ท่านจะต้องทำความคิดและจิตใจให้เปิดกว้าง แต่หนักแน่น มีเหตุผล มีวิจารณญาณ พร้อมกันนั้นก็ต้องมีความจริงใจ เห็นใจและเมตตาปรองดองกัน โดยถือประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันเป็นวัตถุประสงค์เอก.

หลัก ปรัชญา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง ใน ชีวิต ประจํา วัน

ข้อแรก จะต้องเป็นคนที่ทำตัวทำงานอย่างมีหลักการ มีระเบียบ มีเหตุผลทีถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม. ข้อสอง ต้องมีความเพียรพยายามอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในการทำงานและการทำความดี แม้จะมีความเหนื่อยยากหรือมีอุปสรรคขัดขวางมากมายเพียงใดก็ไม่ย่อท้อถอยหลัง. ข้อสาม ต้องเอาใจใส่ศึกษา ค้นคว้าหาวิชาและความรอบรู้ในเรื่องต่างๆให้ลึกซึ้งและกว้างขวางรอบด้าน ไว้สำหรับใช้เทียบเคียง ประกอบการพิจารณาตัดสินปัญหาต่างๆในการงาน. ข้อสี่ ซึ่งสำคัญที่สุด ต้องสามารถควบคุมกายใจ คือ การกระทำความคิดของตนให้สงบ หนักแน่น แน่วแน่ในความเป็นกลางอยู่เสมอ แม้ในเวลามีเหตุชวนให้วุ่นวายสับสน.

ถ้าทุกประเทศมีความคิดอันนี้ ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข. พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ปเบียดเบียนคนอื่น. ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง... " *พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าฯถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น "... การรู้จักประมาณตน ได้แก่ การรู้จักและยอมรับตนเองว่าตนเองมีภูมิปัญญาและความสามารถในด้านไหน เพียงใด และควรจะทำงานด้านไหนอย่างไร. การรู้จักประมาณตนนี้จะทำให้คนเรารู้จักใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้ถูกต้องเหมาะสมกับงานและได้ประโยชน์สูงสุดเต็มตามประสิทธิภาพ ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ เพื่อปรับปรุง ส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้ยิ่งสูงขึ้น ส่วนการรู้จักประมาณสถานการณ์นั้น ได้แก่ การรู้จักพิจารณาสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นให้ทราบชัดถึงความเป็นมาและที่เป็นอยู่ รวมทั้งที่คาดว่าเป็นไปในอนาคต.

หลัก ปรัชญา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง 5 ประการ